|
ข้อควรระวังในการใช้ ระบบทําความเย็นที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทําความเย็น![]() ![]() ![]() ข้อควรระวังในการใช้ ระบบทําความเย็นที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทําความเย็น๑. ระบบทําความเย็นและอุปกรณ์ส่วนควบต้องอยู ในสภาพที่สมบูรณ์ปลอดภัยเพียงพอในการใช้งานเช่น ไม่มีการผุกร่อน การรั่วซึม มีการตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้งานอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง โดยวิศวกรที่มีความชํานาญ และมีแผนบํารุงรักษาอย่างต่อเนื่อง๒. ภาชนะรับแรงดันในระบบทําความเย็น เช่น ถังพักน้ำยา(Receiver Tank) ถังแยกน้ำมัน (Oil Separator) เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบเปลือกและท่อ (Shell and Tube Heat Exchangers) Intercooler Tank Accumulator Tank หอทําน้ำแข็งหลอด (Tube Ice) เป็นต้น ต้องได้รับการออกแบบคํานวณ และสร้างให้ แข็งแรงถูกต้องตามหลักวิศวกรรม ๓. ระบบทําความเย็นต้องมีอุปกรณ์ครบถ้วน ดังนี้ ๓.๑ คอมเพรสเซอร ทุกตัวต้องติดตั้ง - วาล์วสกัดทางดูด (Suction Stop Valve) - วาล์วสกัดทางส่ง (Discharge Stop Valve)- วาล์วกันกลับทางส่ง (Discharge Check Valve) - สวิทช์ตัดความดันต่ำ (Low Pressure Cutout switch) - สวิทช์ตัดความดันสูง (High Pressure Cutout switch)- ถ้าคอมเพรสเซอร์ใช้ ปั๊มน้ำมันจะต้องมีสวิทช์ ตัดความดันน้ำมันต่ำ (Low Oil Pressure Cutout Switch) - อุปกรณ์วัดความดันด้านดูด ด้านสูง และความดันของปั๊มน้ำมันคอมเพรสเซอร์ - หากระบบท่อแอมโมเนียมีการติดตั้งวาล์วสกัดหัวท้าย ต้องติดตั้งอุปกรณ์ ระบายความดัน ในส่วนที่ถูกสกัดเพื่อป้องกันไม่ให้ท่อแตกจากการขยายตัวของแอมโมเนียเหลว (Liquid Expansion) ๓.๒ ปั๊มแอมโมเนีย (Refrigerant Pumps) ต องติดตั้งวาล์วสกัดด้านดูดและด้านส่ง ๓.๔ อุปกรณ์ ดูระดับของเหลว - มีการติดตั้งวาล์วสกัดหัวท้าย ชนิดมีวาล์วกันกลับในตัว เพื่อลดอันตรายเมื่อหลอดแก้วแตก และต้องมีแผ่นกั้นที่แข็งแรงกันกระแทก ล้อมรอบ ตลอดความยาวของหลอดแก้ว ๓.๕ การระบายอากาศที่ห้องเครื่องจักรแอมโมเนีย - ต้องมีลักษณะโปร่ง ถ่ายเทอากาศได้ดี หากปิดทึบต้องติดตั้งพัดลมระบายอากาศที่เพียงพอ ๓.๖ อุปกรณ์ ระบายความดัน (Pressure Relief Device) - ต้องติดตั้งลิ้นนิรภัยเป็นแบบเดี่ยวหรือคู่ (Dual Safety Valve) หรืออุปกรณ์ ระบายความดันชนิดอื่นที่เหมาะสมบนภาชนะรับความดัน เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน ถังแยกน้ำมัน ถังถ่ายน้ำมันทุกใบ และ ณ จุดต่าง ๆ ในระบบทำความเย็นที่จําเป็นต้องมี เพื่อป้องกันการแตกรั่ว จากความดันเกิน พร้อมต่อท่อระบายลงน้ำที่มีปริมาณเพียงพอในการดูดซับ แอมโมเนีย (ปริมาณน้ำ ๘.๓๔๔ ลิตร ต่อแอมโมเนีย ๑ กิโลกรัม) - วาล์วระบายความดันทุกตัว ต้องตั้งค่าความดันเริ่มเปิดไม่เกินกว่าค่าความดันออกแบบของ ระบบหรืออุปกรณ์ ๔. ข้อกำหนดทั่วไป - ต้องจัดให้มีผู้ควบคุมระบบทำความเย็นที่มีความรู้ ความชำนาญ ในการควบคุมระบบโดยเฉพาะที่สามารถควบคุมหรือแก้ไขระบบทำความเย็นเมื่อเกิดกรณีมีการรั่วไหลของแอมโมเนียได้ - วาล์วสกัดหลักต่าง ๆ ในระบบ วาล์วเมนแอมโมเนียเหลว วาล์วสกัดเมนท่อก๊าซร้อนเพื่อใช้ดีฟอรสท์ วาล์วเมนปิดน้ำยาเหลวจากปั๊มแอมโมเนีย วาล์วตัดต่อปั๊มแอมโมเนีย ต้องอยู่ในที่เข้าถึงได้สะดวกและมีป้ายชื่อบอกชัดเจน เพื่อสะดวกในการปิดวาล์วสกัดกรณีเกิดการรั่วไหลของแอมโมเนีย - ถ้ามีช่องทางออกเพียงช่องทางเดียวจากห้องเครื่องไปบริเวณใช้งานอื่น ต้องไม่เดินท่อแอมโมเนียหรืออุปกรณ์ของระบบในช่องทางเดินนั้น และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางในช่องทางเดิน - วาล์วถ่ายน้ำมันต้องเป็นแบบปล่อยปิด (Loaded Valve) - ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับไอแอมโมเนีย (Ammonia Detector) ที่ห้องเครื่อง และห้องปฏิบัติงานที่คนงาน อย่างน้อยห้องละ ๑ ชุด ๕. การเตรียมพร้อมรับภาวะฉุกเฉิน ๕.๑ ต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ ถุงมือ หน้ากาก รองเท้า และชุดที่ใช้สำหรับป้องกันแอมโมเนีย หรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็น เช่น เครื่องช่วยหายใจ รวมถึงอุปกรณ์ ในการระงับอุบัติภัยที่เหมาะสม เก็บไว้ในที่สามารถหยิบใช้ได้ อยางสะดวกและต้องอยู!ในสภาพพร้อมใช้งาน ๕.๒ ควรจัดหาระบบฉีดน้ำเป็นฝอยเพื่อใช้เป็นม่านน้ำป้องกันก๊าซแอมโมเนีย ไมให้แพร่กระจายเป็นอันตรายต่อคนที่อยู่ในบริเวณโดยรอบที่เกิดเหตุ ๕.๓ ควรจัดทำแผนฉุกเฉินแอมโมเนียรั่วไหล โดยแผนฉุกเฉิน ประกอบด้วยการระงับเหตุอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ การอพยพพนักงาน การฟื้นฟูสภาพภายหลังเกิดเหตุ รายชื่อ เบอร์โทรศัพท์ของผู้ประสานงาน หรือผู้เชี่ยวชาญ และให้มีการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินเป็นประจำอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ๖. การจัดการเมื่อเกิดแอมโมเนียรั่วไหล ๖.๑ คนงานที่ได้รับการฝึกซ้อมแก้ปัญหาภาวะฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ชุดป้องกันสารเคมี หน้ากากป้องกันแอมโมเนีย แว่นตา ถุงมือ เป็นต้น อย่างน้อย ๒ คน เข้าพื้นที่เพื่อหาจุดรั่วไหลและวิเคราะห์สถานการว่าจะหยุดเดินเครื่องได้หรือไม่ พร้อมปิดวาล์วสกัดน้ำยาหัวท้ายจุดที่เกิดการรั่วไหลเพื่อป้องกันการรั่วไหลเพิ่ม อีกทั้งฉีดน้ำเป็นฝอยคลุมพื้นที่เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของก๊าซแอมโมเนีย หากจุดรั่วไหลไม่สามารถปิดวาล์วสกัดได้ให้ใช้กระสอบป่านคลุมแล้วใช้น้ำฉีดคลุม ทำการอพยพบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องไปในพื้นที่ปลอดภัย (บริเวณเหนือลม) พร้อมแจ้งประสานหน่วยงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินในพื้นที่ แก้ไขต่อไป ๖.๒ ตรวจสอบหาผู้ได้รับบาดเจ็บในบริเวณที่เกิดเหตุเพื่อทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และนำส่งโรงพยาบาลต่อไป ๖.๓ ระวังอย่าให้น้ำที่ใช้ฉีดคลุมก๊าซแอมโมเนียไหลลงแหล่งน้ำสาธารณะ โดยต้องมีบ่อกักเก็บน้ำดังกล่าว เพื่อบำบัดก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำสาธารณะ ๗. ข้อควรระวังจากกรณีศึกษาอุบัติเหตุเกี่ยวกับระบบทำความเย็นที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น ๗.๑ กรณีท่อฟรีสเซอร์ของหอทำน้ำแข็งหลอดบวมแตก สาเหตุ - ใช้ท่อแบบมีตะเข็บซึ่งไม่ได้มาตรฐาน - มีก้อนน้ำแข็งตกค้างอยู่ภายในท่อฟรีสเซอร์และได้รับความเย็นซ้ำจนเกิดการขยายตัวดันท่อฟรีสเซอร์จนบวมและแตก ข้อเสนอแนะในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ - เลือกใช้ท่อแบบไม่มีตะเข็บที่ถูกต้องตามมาตรฐาน - ให้ระมัดระวังขั้นตอนในการละลายน้ำแข็งออกให้หมดในแต่ละรอบ ต้องหมั่นสังเกตลักษณะของน้ำแข็งหลอดว่ามีสีขาวรูตันหรือออกช้า หรือไม่ หรือตรวจสอบจากปริมาณน้ำแข็งที่ออกมาในแต่ละรอบ ว่ามีปริมาณเท่าไร หากพบว่าปริมาณน้ำแข็งออกน้อยหรือไม่หมด ให้คอยกดละลายน้ำแข็งซ้ำหรือตั้งเวลา ละลายน้ำแข็งให้นานขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศเย็น จะมีปัญหาเรื่องน้ำแข็งออกไม่หมดบ่อยมาก ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ๗.๒ กรณีถังพักแอมโมเนีย (Accumulator Tank) ระเบิด สาเหตุ - ไม่มีการออกแบบคำนวณและรับรองอย่างถูกต้องตามหลักวิศวกรรม อีกทั้งวัสดุที่ใช้สร้างไม่เหมาะสม - ขั้นตอนการเชื่อมโลหะไม่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม - การซ่อมแซมการรั่วซึมของแนวเชื่อมไม่เป็นไปตามหลักวิศวกรรม ข้อเสนอแนะในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ - การติดตั้งระบบทำความเย็นที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น และการสร้างภาชนะรับแรงดันในระบบทำความเย็นต้องมีการออกแบบคำนวณ ควบคุมขั้นตอนการสร้างอย่างถูกต้อง ตามหลักวิศวกรรม โดยมีการรับรองจากวิศวกร - การซ่อมแซมอุปกรณ์โดยเฉพาะส่วนที่รับแรงดันต้องดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักวิศวกรรมภายใต้การควบคุมของวิศวกร ข้อมูลจาก สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม http://php.diw.go.th/safety/?page_id=1040 |
|